Skip to main content

ลงทะเบียนเวปไซต์ เพิ่มช่องทางการค้นหา | Directory Submissions

Free Directories Submission
ตัวอย่างเวปไซต์ลงทะเบียน
สวัสดีครับ ความหมายของคำว่า "ลงทะเบียนเวปไซต์" ในครั้งนี้ไม่ได้จะหมายความถึงการจดทะเบียนเวปไซต์ ขอชื่อโดเมนเนม (Domain Name, ie.http://www.seoforthai.com) อะไรแบบนี้หรอกนะครับ แต่ผมกำลังจะบอกว่า เวปไซต์ที่เพื่อนๆสร้างขึ้นมา ถ้าอยากให้มีคนรู้จักและเผยแพร่ให้คนทั่วโลกได้รู้ เราก็ควรแสดงตัวตน แบบที่คนทั่วไปเรียกกันว่า Submit Directory หรือแปลเป็นไทยว่า "การลงทะเบียนเวปไซต์ เข้าในหมวดหมู่ที่สามารถหาได้ง่าย ของเวปไซต์นั้นๆ"  หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การเพิ่มช่องทางการค้นหาเวปไซต์ ของเรานั่นเอง ตัวอย่างเช่น Yellow Pages หรือสมุดหน้าเหลือง คือหนึ่งในบริการลงทะเบียนหน่วยงาน บริษัท ห้างร้านต่างๆ ในหมวดหมู่ที่เป็นระเบียบ และง่ายต่อการค้นหา


          ต่อไปนี้คือวิธีที่ SEO มืออาชีพ ส่วนใหญ่ใช้ในการลงทะเบียนเวปไซต์ (Submit Directory) กันนะครับ ซึ่งจะบอกถึงรายละเอียดลึกๆของการลงทะเบียนเวปไซต์กันอย่างละเอียดกันเลยทีเดียว

การลงทะเบียนเวปไซต์ (Directory Submissions) สามารถแยกออกได้เป็น 2 แบบด้วยกันคือ

1. Mannual Submission (แบบปกติ) : โดยปกติแล้ว การลงทะเบียนแบบนี้จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเวปไซต์ต่างๆได้เป็นอย่างดี แต่จุดสำคัญคือผู้ที่ลงทะเบียน ไม่มีความสม่ำเสมอในการลงทะเบียน หรือไม่มีความเชี่ยวชาญในการลงทะเบียนให้กับเวปไซต์อย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดการปฏิเสธจากทางเวปไซต์รับลงทะเบียน หรืออาจมีการลงทะเบียนซ้ำซ้อน ทำให้ URL ของเวปไซต์ถูกแบน และไม่สามารถเข้าใช้เวปลงทะเบียนนั้นๆได้อีกเลย
Submission Form
ตัวอย่างแบบฟอร์มการลงทะเบียน

2. Auto Submission (แบบใช้เครื่องมือ) : แบบนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมาในรูปแบบของการลงทะเบียนผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปที่มีให้เลือกกันในแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และประสิทธิภาพ แต่ผมขอแนะนำว่าให้เลือกดูให้ดีก่อนที่จะนำเครื่องมือใดๆมาช่วยในการลงทะเบียนเวปไซต์ของเรา เนื่องจากว่า ถ้าไม่มีการตรวจสอบ หรือศึกษาคู่มือให้ดีแล้วนั้น ผลของการลงทะเบียนก็จะอยู่ในรูปของ spam ได้ ซึ่งผลของการ spam นี้ จะทำให้ URL โดนแบนด้วยก็ได้เช่นกัน

          สรุปคือเมื่อเพื่อนๆพอใจกับแบบใดแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนการลงทะเบียนเวปไซต์กันเลย โดยที่หน้าตาของเวปไซต์รับลงทะเบียนก็จะดูคล้ายคลึงกัน และมีส่วนของการลงข้อมูลที่ค่อนข้างจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อย่างรูปที่นำมาให้ได้ชมกันนี้ครับ

ข้อควรระวัง จำเป็นต้องดูก่อนที่จะใส่ข้อมูลใดๆลงไป

  • ให้ดูว่าหน้าของการลงข้อมูลนั้น ในช่วงสุดท้ายต้องมีการจ่ายเงินไหม อันนี้แนะนำว่า ถ้าเพื่อนๆสะดวกให้เรื่องการชำระค่าลงทะเบียน ก็ให้เริ่มใส่ข้อมูลของเวปไซต์เราลงไปได้เลย แต่ถ้าคนไหนไม่ค่อยสะดวกและต้องการเริ่มต้นแบบฟรีๆ ไม่เสียค่าใช้จ่าย แนะนำให้ดูให้ถี่ถ้วนซะก่อน เพราะถ้าใส่ข้อมูลต่างๆลงไปแล้ว เมื่อมาถึงจุดที่ต้องใส่ข้อมูลบัตรเครดิตและ ชำระค่าลงทะเบียน จะเกิดปัญหา และรู้สึกท้อขึ้นมาได้ ข้อแนะนำ การลงทะเบียนแบบฟรี ไม่เสียเงิน ทางเวปไซต์จะไม่การันตีว่า URL ของเราจะได้รับการยืนยันบันทึกลงในสาระบบหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของเวปไซต์อีกที และอีกทั้งเวลาของการพิจารณาจะอยู่ตั้งแต่ 2 - 6 เดือนหลังจากวันที่ Submit URL ไป  แต่ข้อดีของแบบเสียเงิน ส่วนใหญ่แล้วเขาจะการันตีในการบันทึกข้อมูลและเผยแพร่ให้ในเวลาที่แน่นอน

  • ในช่องด้านบนๆ บางเวปไซต์จะมีช่อง ratio botton (ปุ่มกดเลือกแบบข้อเดียว) อยู่ และแสดงถึงรายการให้เลือกว่าต้องการลงทะเบียนแบบไหน โดยเลือกระหว่าง ลงทะเบียนฟรี, ฟรีและแลกลิงค์ (Reciprocal Link) ถ้าอันไหนมีให้เลือกฟรี ก็คงไม่ลำบากใจที่จะเลือกใช่ไหมครับ แต่ถ้าเป็นฟรีและแลกลิงค์นี่ซิ เพื่อนๆต้องเตรียมหน้าเวปไซต์/บล็อก ของเราไว้ใส่ลิงค์ของเขาไว้เลย เพราะว่าจะมีช่องต่อมาให้เรายืนยัน URL ที่เราได้นำลิงค์เขาไปใส่ไว้ด้วยก่อนที่จะมีการ Submit แต่ก็จะมีบางเวปไซต์ที่เมื่อกรอกข้อมูลจนครบแล้ว พอกด Submit เพจไปแล้ว เพื่อนๆจะเจอกับเพจที่ต้องเลือกดังที่ได้กล่าวมาแล้วอีกที ซึ่งถ้าเพื่อนๆคนไหนที่ไม่ได้เตรียมพื้นที่หน้าเวปเพจเพื่อแลกลิงค์ หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับ HTML ก็คงจะลำบากกันนิดหน่อย อีกทั้งถ้ามาตัดสินใจไม่ลงทะเบียนในขั้นตอนนี้ก็ดูจะเป็นการเสียเวลาที่ได้กรอกข้อมูลไปแล้วซะด้วย ข้อแนะนำ เพื่อไม่ได้เกิดความเบื่อและหมดสนุกในการลงทะเบียน อยากให้ลองบันทึก URL ที่ชอบ และง่ายต่อการลงทะเบียนไว้ใช้ในคราวหน้ากับเวปไซต์อื่นๆไว้ด้วย           
          
          สรุปคือไม่ว่าแบบไหนและวิธีการไหนที่เพื่อนๆสนใจเลือกใช้บริการ ก็ให้ศึกษาข้อมูลไว้ให้ดี เพื่อความสะดวกสบายในครั้งหน้าต่อไป แล้วพบกันใหม่กับข้อมูลดีๆได้ที่นี่ SEO For Thai รวบรวมของฟรี ทำการตลาดเวปไซต์ SEO สำหรับผู้เริ่มต้นแล้ววันนี้

คุณสามารถเขียนคำติชม หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านล่างครับ

Comments

Popular posts from this blog

สร้างความเป็นตัวตน + เรียกคะแนนจากกลุ่มลูกค้าบนเฟสบุ๊ค | Identified Yourself on Facebook & Growing your Business

สร้างความเป็นตัวตนบนโลกสังคมเครือข่ายด้วยเฟสบุ๊ค นอกเหนือจากสิ่งที่คุณได้ทำเป็นประจำ สำหรับการเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมในเวปไซต์ของคุณแล้ว สิ่งหนึ่งที่มืออาชีพ SEO และนักการตลาดเวปไซต์ทุกคนไม่ควรมองข้ามเลยก็คือการแสดงความเป็นตัวตนให้ชาวโลกได้รู้จักด้วยวิธีการง่ายๆด้วยสังคมออนไลน์ (Social Media)  สังคมออนไลน์ (Social Media) หรือสังคมเครือข่าย (Social Network) เป็นระบบหนึ่งที่มีบทบาทอยู่ในลำดับต้นๆของโลกอินเตอร์เนต ซึ่งถ้าเอ่ยชื่อถึง Facebook, Twitter, Google Plus ผมมั่นใจว่าไม่มีใครไม่รู้จัก แต่จะมากหรือจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับความถนัดและความชอบของแต่ละคนด้วย มาเข้าเรื่องกันเลยนะครับ วันนี้วันที่ (28 มิถุนายน 2555) จากผลสำรวจมีผู้เป็นเจ้าของและใช้งาน    Facebook ถึง 8 ล้านกว่าคน เทียบกับเมื่อ 4ปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มขึ้นมากเป็นร้อยละ 90 คิดเป็นอันดับหนึ่งจากสถิติทั่วโลก บวกกับผลการวัดค่าความนิยมของเวปไซต์ อยู่ในระดับ PR9 จึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงความนิยมของผู้ใช้งานที่ได้รับความเชื่อถือและใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย ณ ปัจจุบันนี้  ซึ่งก็เป็นอีก

ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด | Keyword Density

ความหนาแน่นของจำนวนคีย์เวิร์ด Keyword Density Keyword Density บางคนอาจคิดว่าการเพิ่ม ความหนาแน่นของคีย์เวิร์ด  ในจำนวนที่มากนั้นเป็นช่องทางที่จะทำให้การทำ การตลาดเวปไซต์ ติดอันดับการค้นหาได้ดีขึ้น จริงๆแล้วในระบบ Algorithm ของแต่ละ Search Engines นั้น ไม่ได้คิดเช่นนั้น การที่เรามีคีย์เวิร์ดในจำนวนที่มากเกินความจำเป็น ดูแล้วรกหูรกตา และดูจงใจเกินไปนั้น ทางเวปไซต์ให้บริการค้นหาต่างๆจะทำการจัดให้อยู่ในเวปไซต์ที่พ่นคำค้นหาผิดปกติ ซึ่งก็คือเวปสแปม Spam นั่นเอง หรือบางทีเวปไซต์บางแห่งก็มีแต่กลุ่มคำที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่ได้กำหนดไว้เลยก็มี ซึ่งอาจส่งผลให้บ๊อทที่ตามเก็บข้อมูลเกิดความสับสนได้ในอนาคต ซึ่งกรณีดังกล่าวส่งผลเสียให้กับเวปไซต์ของคุณทั้งสิ้น * อาจเป็นการดีที่จะทำให้ทราบถึงจำนวนคีย์เวิร์ดในเวปไซต์ โดยที่คุณสามารถตรวจเช็คได้ด้วยตัวเองกับโปรแกรมฟรีมากมาย โดยคุณอาจ search เวปที่เกี่ยวกับการ check keyword density หรือ keyword density checker หรือคุณอาจะใช้โปรแกรม Microsoft Word ตรวจค้นว่าคำๆนึงที่คุณตั้งใจตั้งเป็นคีย์เวิร์ดของหน้านั้นๆ มีการใช้ไปจำนวน

การตลาดเวปไซต์ คืออะไร | What Is SEO?

What Is SEO เมื่อไหร่ที่นักท่องอินเตอร์เนตหรือผู้สนใจอินเตอร์เนตพิมพ์ข้อความ หรือคำบางคำ ที่พวกเขาต้องการจะค้นหาผ่านทางเวปไซต์ Search Engine ต่างๆ หรือบางคนเรียก การตลาดเวปไซต์ สิ่งที่พวกเขาได้รับกลับมาคือลิงค์จำนวนมากที่พุ่งตรงไปยังแหล่งข้อมูลปลายทาง ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นจากระบบปฏิบัติการ Algorithms ที่ซับซ้อนของระบบ Search Engine นั้นๆที่ได้มีการกำหนดไว้ ความหมายหรือใจความสำคัญของคำว่า SEO (Search Engine Optimization) ดังที่มีคนเคยให้คำนิยามไว้ในหลายๆที่ หรือแม้กระทั้งในเวปไซต์ Wikipedia ก็ตาม โดยสรุปได้คือเป็นขบวนการปรับปรุงเวปไซต์ในระบบการสืบค้นโดยวิธีการที่เป็นธรรมชาติ หรือไม่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินนั่นเอง แต่ก่อนที่เราจะกล่าวเกี่ยวกับวิธีการหรือ เทคนิค SEO หรือขั้นตอนในการทำให้เวปไซต์เราติดอันดับผลการค้นหาของ Search Engine ในระบบสูงๆแล้วนั้น เรามารู้จักกระบวนการๆทำงานของ Search Engine กันโดยคร่าวๆก่อนนะครับ